วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออก กับ โลกตะวันตก

การติดต่อระหว่างโลกตะวันออก กับโลกตะวันตก

      การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกได้ดำเนินมายาวนาน และต่อเนื่องส่งผล
ให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกัน ทั้งทางตรงและการนำมาปรับปรุงให้
เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมของตน อารยธรรมบางอย่างรับมาแล้วยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่อารยธรรมบางอย่างรับแล้วค่อยมีการปรับเปลี่ยนหรือสูญหายตามการเปลี่ยนแปลงของโลก
ทั้งนี้การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกมีปัจจัยสำคัญ ดังนี้
    1. การติดต่อค้าขาย ในระยะแรกของการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก
เริ่มต้นจากการค้าขาย ที่พ่อค้าชาวตะวันตกกับตะวันออกได้อาศัยเส้นทางที่เรียกกันในสมัยหลังว่า
“เส้นทางสายไหม (Silk Road)” เส้นทางนี้เริ่มจากกรุงฉางชาน (เมืองซีอานในปัจจุบัน) ประเทศ
จีนไปทางตะวันตก ผ่านทะเลทรายในเอเชียกลาง จนถึงเมืองท่าริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แล้ว
ลงเรือต่อไปทวีปยุโรป สินค้าสำคัญที่พ่อค้าชาวตะวันตกต้องการคือผ้าไหม ส่วนสินค้าที่โลกตะวัน-
ออกต้องการ เช่น หินมีค่า งาช้าง เป็นต้น ต่อมาเส้นทางทางบกได้ลดความสำคัญลงเมื่อมีการ
พัฒนาเทคนิคการต่อเรือและเดินเรือทำให้การติดต่อค้าขายขยายวงกว้าง เส้นทางการค้าจึงได้
เปลี่ยนมาเป็นเส้นทางทางทะเลที่เรียกกันในสมัยหลังว่า “เส้นทางเครื่องเทศ” (Spice Route)
เนื่องจากชาวตะวันตกมีความต้องการเครื่องเทศ เพื่อมาใช้ในการถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อ
     สัตว์ให้มีอายุยืนนานและใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติมากขึ้น ดังนั้นการค้าขายจึงเป็นช่องทาง
สำคัญที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกัน
    2. การเผยแผ่ศาสนา เนื่องจากชาวตะวันตกมีความคิดว่าพระผู้เป็นเจ้าจะพอพระทัย
หากสามารถชักชวนผู้ที่อยู่ห่างไกลมานับถือศาสนาคริสต์ได้ และคิดว่าชาวพื้นเมืองที่นับถือศาสนา
คริสต์จะให้ความเชื่อถือตนมากกว่าพวกที่ไม่ได้นับถือ เป็นเหตุให้ชาวตะวันตกต้องการจะเผยแผ่
ศาสนาไปยังดินแดนโลกตะวันออกพร้อมกับการค้าขาย ดังนั้นการเผยแผ่ศาสนาจึงทำให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกัน
    3. การทำสงคราม เช่น สงครามครูเสด ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวัน-
ตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง ส่งผลให้ชาวตะวันตกได้มีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลก
ตะวันออก และเกิดการแลกเปลี่ยนอารยธรรมและการติดต่อทางการค้าและนำไปสู่การฟื้นฟู
ศิลปวิทยาการของยุโรปในเวลาต่อมา
    4. การผจญภัยแสวงหาโชค ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของชาวตะวันตกเริ่มหันมาสนใจเรื่อง
รอบๆ ตัว และจักรวาลวิทยาของคริสต์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายใน
โพ้นทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบน และเรือที่แล่นไปในท้องทะเลอันกว้างใหญ่อาจตกขอบโลก
กลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหล จึงทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่ขวาง
กั้นพวกเขากับโลกของตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของโตเลมี
(Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ประกอบกับการพัฒนาเรือที่มีความ แข็ง
แรง ที่สามารถแล่นในมหาสมุทรได้ดีขึ้น ทำให้ชาวตะวันตกเดินทางไปเผชิญโชคไปค้าขายหรือไป
ตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ ส่งผลทำให้นำวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของชาวตะวันตกไป เผยแพร่
ด้วย จึงเกิดการแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกัน เป็นต้น